ณ ปัจจุบัน ผู้คนทั่วๆ ไป อาจจะคุ้นเคยกับ “Internet” ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาพของการเชื่อมต่อ ระหว่างคน กับ ระบบอินเทอร์เน็ต ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ และ อื่นๆ อีกมากมายหลายรูปแบบ แต่ถ้าพูดถึงคำๆ ว่า “Internet of Thing” ในตอนนี้ อาจจะมีผู้คนมากมายเกิดอาการงงๆ ว่า “Internet” กับ “Thing” มันเป็นคืออะไร เกี่ยวกันอย่างไร
“คน กับ อินเทอร์เน็ต” ไปสู่ “สิ่งของ กับ อินเทอร์เน็ต”
Internet of Things (IoT) คือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และ เครื่องมือต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ตู้เย็น โทรทัศน์ และอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยเครื่องมือต่างๆ จะสามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ในอนาคต ผู้บริโภคทั่วไปจะเริ่มคุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่ทำให้พวกเขา สามารถควบคุมสิ่งของต่างๆ ทั้งจากในบ้าน และสำนักงานหรือจากที่ไหนก็ได้ เช่น การควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน การเปิดปิดไฟ ไปจนถึงการสั่งให้เครื่องทำกาแฟ เริ่มต้มกาแฟ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ที่จำเป็นจะต้องถูกพัฒนาก่อนที่ IoT จะเป็นความจริงขึ้นมา เช่น ระบบตรวจจับต่างๆ (Sensors) รูปแบบการ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ และระบบที่ฝังตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์ แต่ขณะนี้ บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Microsoft และ Cisco ก็หันมาให้ความสนใจกับเทคโนโลยีนี้ และในปี 2013 เทคโนโลยี “Internet of Things” จะถูกพูดถึงกันมากขึ้น และจะมีการทำวิจัยและ พัฒนาเพื่อทำให้ สามารถนำมาใช้ได้จริงมากขึ้น (ศึกษาเพิ่มเติมเรื่อง Internet of Things ได้จาก คลิปด้านล่าง..
อีก 5 ปี สิ่งของกว่าแสนล้านชิ้น หรือ เพิ่มขึ้นกว่า 300% จะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

คน, สิ่งของ และ องค์กร (Human, Thing, and Organization)
องค์กรในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน หรือ หน่วยงานราชการสามารถนำขีดความสามารถของ Internet of Things มาช่วยในการบริหารจัดการสินทรัพย์, การคำนวณ หรือ ประมาณการ ปริมาณการทำงาน, และการพัฒนาสิ่งใหม่ โดยใช้ช้อมูลต่างๆ ที่ถูกรวบรวมผ่าน Sensors Technology แล้วส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลกลาง ผมขอตัวอย่างง่ายๆ ของการประยุกต์ใช้ Internet of Thing เช่น อาคารจอดรถของห้างสรรพสินค้าใหญ่ หรือ อาคารจอดรถของ BTS เป็นต้น อาคารจอดรถเหล่านี้ จะมี Sensor ไว้ตรวจสอบจำนวนรถที่จอดในอาคาร โดย Sensor เหล่านี้ จะส่งสัญญาณว่าพื้นที่ตรงนั้นมีรถจอดอยู่หรือไม่ ทำให้ผู้บริหารจัดการอาคารเหล่านั้นสามารถตรวจสอบได้ว่า มีพื้นที่ตรงไหนว่าง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่จอดรถ ชั้นไหนของอาคารจอดรถ มีพื้นที่ว่าง และสามารถขับรถไปสู่พื้นที่จอดนั้น โดยไม่ต้องเสียเวลาขับรถวนไปมา จากตัวอย่างข้างต้น จะช่วยให้ท่านเห็นภาพระหว่าง “Thing” ซึ่งก็คือ “รถยนต์” ที่ถูกตรวจจับโดย “Sensor” และ Sensor จะส่งสัญญานไปสู่ Server ผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งอาจจะเป็น “เครือข่ายภายใน (Intranet)” หรือ “เครือภายภายนอกทั้งที่เป็นระบบปิด (Extranet)” หรือ “เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็นระบบเปิด (Internet)” หรือการที่แพทย์ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปตรวจคนไข้ที่บ้าน แต่สามารถเช็คอาการต่างๆ ผ่าน Sensor ต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ในอุปกรณ์แพทย์ ณ บ้านคนไข้ เป็นต้น
Internet of Thing กับการประยุกต์ใช้ทางทหาร
“Internet of Things” สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการทางทหารได้มากมาย เนื่องจากมีสิ่งอุปกรณ์ (สป.)มากมายที่ถูกใช้ในด้านการทหาร ยกตัวอย่างเช่น การนำมาประยุกต์ใช้ในด้านส่งกำลัง/ซ่อมบำรุง การบริหาร สิ่งอุปกรณ์ต่างๆ (Inventory Management) เช่น การบริหารจัดการ Inventory ของ อาวุธ, กระสุน, ยานพาหนะ และ สป. อื่นๆ อีกมากมาย ข้างต้นเป็นเพียงหนึ่งในหลายแนวทางการประยุกต์ใช้ “Internet of Things” ในด้านการทหาร และถ้าหากถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในหน่วยทหาร แล้ว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ให้กับการบริหารจัดการทรัพยากรของกองทัพ ทั้งในภาพของหน่วย และในภาพรวม